ประวัติตำบลนาแก
ตำบลนาแกเป็นตำบลเก่าแก่มีมานานแล้ว แต่ชื่อนาแก เป็นชื่อใหม่
คือเมื่อมีการตั้งตำบลในสมัยรัชกาลแห่งกรุงรัตนโกสินทร์คนที่อาศัยในเขตนี้เห็นว่าหัวไร่
ปลายนา มีต้นสะแกมากที่สุด จึงเอาคำมาว่า นา กับต้นสะแก มารวมกันเป็น
นาแก สืบมาตราบเท่าทุกวันนี้
เดิมทีเดียวตำบลนาแก มีความเจริญรุ่งเรืองแถบบ้านแม่แป้น ( หมู่ ๕)
และบ้านแม่ฮ่าง (หมู่ ๔) ที่บริเวณดังกล่าวกว้างขวางมาก
เป็นเมืองโบราณชื่อว่า เวียงแป้น ปัจจุบันยังปรากฏซากปรักหักพังอยู่ทั่วไปทั่วไป
ภูมิประเทศใกล้ภูเขา มีต้นน้ำลำธารใส ไหลเย็น
พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ที่นี่มีเรื่องเล่าว่า
เป็นเมืองเก่าแก่สมัยขอมเรืองอำนาจ สังเกตได้จากโบราณสถานสิ่งก่อสร้าง
และพระพุทธรูปเป็นศิลปะขอม
ต่อมาได้เป็นเมืองรุ่งเรืองรุ่นราวคราวเดียวกันกับเมืองเวียงบน
คือ อำเภองาว ปัจจุบันเฉพาะที่บ้านแม่ฮ่างเป็นเมืองเก่าสมัยคนไทยอพยพมาจากเมืองเชียงแสน
ได้มาสร้างบ้านแปงเมืองอยู่ที่นี่ราว พ.ศ. ๑๗๐๒ บริเวณนี้เคยเรียกว่า เวียงแป้น
วัดเก่าแก่มีเหลือแต่ซาก ได้แก่ วัดพรหมมินทร์ วัดกู่ผาเฮือน (ที่แม่หิน)
เคยมีเรื่องเล่าขานกันว่า บริเวณบ้านแม่แป้น แม่ฮ่าง มีต้นเสียงพิณพาทย์ เสียงปี่
เสียงซึง ประโคมขับกล่อมอยู่ระงมทั่วป่า โดยเฉพาะวันพระ วันโกน
คนรุ่นต่อมาไม่มีใครกล้าเข้ามาอาศัย จึงปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า อยู่เป็นเวลานาน
สำหรับหมู่ ๑ บ้านทุ่งศาลา เล่ากันว่า อดีตมีชื่อเรียกกันว่า เวียงศีระ
และหมู่ ๒ บ้านหนองเหียง เดิมในอดีตมีการพบเขียงทองคำในบริเวณนี้
จึงเรียกกันว่า หนองเขียง และปัจจุบันได้ตั้งชื่อหมู่บ้านเพี้ยนมาเป็น
บ้านหนองเหียง
ต่อมาเมื่อมีการตั้งบ้านเมือง หัวหน้าคนไทยที่มาตั้งถิ่นฐาน คนแรก นามว่า “พ่อแสนวงค์” ลูก ๆ หลาน ๆ ที่ปกครองต่อ ๆ มามี “ท้าวมาลัย” เล่ากันว่าท่านผู้นี้มีอุปนิสัยรักสวย
ใจคอเยือกเย็น ราว พ.ศ. ๒๔๔๕ เมื่อมีการตั้งเจ้าแคว้น
ชาวบ้านจึงเลือกเท้ามาลัยขึ้นเป็น (เจ้าแคว้น เทียบได้กับ กำนัน ) ต่อมาท้าวมาลัย
ได้เป็นว่าที่ “ขุนนาแกกิติลักษณ์” เป็นต้นตระกูลของนามสกุล
ใจเย็น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น