Social Icons

Featured Posts

วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พิธีกรรมทางศาสนา


สคบ


แจ้งเตือนอาหารขนม


อาชีพ


บันทึกข้อความ
ส่วนราชการ  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภองาว
ที่  ศธ ๐๒๑๐.๖๗๐๓/๑๐๒๗                                      วันที่   ๑๓   เดือน  กรกฎาคม  .. ๒๕๕๘
เรื่อง  ขออนุมัติยืมเงินงบประมาณ

เรียน  ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภองาว

     ๑.  เรื่องเดิม  :  ตามหนังสือ ขออนุมัติจัดกิจกรรมโครงการการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน      กิจกรรมการทำฝายชะลอน้ำ ที่  ศธ ๐๒๐๑๐.๖๗๐๓ / ๓๑๑๘  ลงวันที่  ๓๐   มิถุนายน   ๒๕๕๘
อนุอนุมัติให้ดำเนินการจัดกิจกรรม  ในวันที่  ๑๖  กรกฎาคม ๒๕๕๘ ณ บ้านแม่ฮ่าง หมู่ที่ ๔ ตำบลบ้านนาแก อำเภองาว  จังหวัดลำปาง  นั้น
     ๒.  ข้อเท็จจริง : ด้วย ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภองาว อนุญาตให้เบิกค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการครั้งนี้ จากงบประมาณ งบเงินดำเนินงาน กิจกรรมการศึกษาการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน      ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
๑.      ค่าวัสดุ                                             เป็นเงิน ๔,๕๖๐  บาท
รวม              เป็นเงิน  ๔,๕๖๐บาท
      ๓.  ข้อกฎหมาย คำสั่ง ระเบียบที่เกี่ยวข้อง : พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๒๗ ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๗ และคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ๔๘๙/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑  เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ และผู้อำนวยการสถานศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขต
                ๔.  ข้อเสนอแนะ :  
. เห็นควรอนุมัติ
                   ๒. ลงนามหนังสือแจ้งสำนักงาน กศน.จังหวัดลำปาง เรื่องขออนุมัติยืมเงินงบประมาณ งบเงินดำเนินงาน กิจกรรมการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนเป็นค่าดำเนินโครงการ จำนวน  ๔,๕๖๐ บาท (สี่พันห้าร้อยหกสิบบาทถ้วน) ตามเอกสารดังแนบ

                                                                       ( นางอัษฎางค์  บัวเงิน )                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                 
                                                                         เจ้าหน้าที่การเงิน


                                      คำสั่ง


                                            ..................................................................  
                                                  ( นางนงนุช  ถาวรวงศ์ )
ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภองาว



กิจกรรมโครงการการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน  กิจกรรมการทำฝายชะลอน้ำ
บ้านแม่ ฮ่าง หมู่ที่ 4 ตำบลนาแก อำเภองาว จังหวัดลำปาง ในวันที่        กรกฎาคม   2558
ที่
ชื่อ –  สกุล
ที่อยู่
ลายมือชื่อ
หมายเหตุ























































































































































































อาหาร

วิธีทำกล้วยฉาบรสหวาน รสเค็ม รสเนย
วัสดุ/อุปกรณ์ในการทำกล้วยาบมีดังนี้

กล้วยน้ำหว้า กะทะ ตะแกรงลวด กะละมัง ที่ไสกล้วย เครื่องชั่ง ถังน้ำหรือโอ่งน้ำ ตะหลิว ทัพพี มีด ถาด เตา 
น้ำ มีดคู่ กระชอน ถ้วยตวง น้ำตาลทราย เนย

การทำกล้วยฉาบ
       
วิธีทำ
       
 1. ปอกเปลือกกล้วยน้ำหว้าดิบ ด้วยมีดปอกเปลือก (มีดคู่)
       
 2. นำกล้วยที่ปอกเปลือกให้หมดทั้งหวี ล้าง และแช่ไว้ในน้ำสะอาดที่ผสมเกลือเล็กน้อย (เพื่อไม่ให้กล้วยมีสีดำ) ตั้งพักไว้


         3. ฝานกล้วยดิบเป็นแผ่นบาง ๆ ตาม ความยาวของผล ด้วยมีดคู่ แล้วนำกล้วยที่ฝานแล้วตากแดดเพื่อให้สามารถหยิบกล้วยได้ง่าย กล้วยจะไม่ติดกัน


         4. ตั้งกระทะให้ร้อนเติมน้ำมันพืชลงในกระทะ เมื่อน้ำมันร้อนพอดี มีควันลอยบ้างบางๆ ใส่กล้วยตามข้อ 3 ลงทอดในน้ำมันทันที เมื่อกล้วยลอยตัวขึ้นมาบนผิวน้ำมัน ให้หมั่นคนและ พลิกชิ้นกล้วยกลับให้ถูกน้ำมัน เพื่อความร้อนสม่ำเสมอทั่วกันทุกชิ้น จนเหลืองดีแล้ว (อย่าเหลืองมาก เพราะกว่าจะเย็นคลายตัว กล้วยจะไหม้ มีสีดำ และมีรสขม) ตักขึ้นใส่กระชอนให้สะเด็ดน้ำมัน ทำจนกระทั่งเสร็จ

สุกแล้วตักขึ้นใส่ตะแกรงเด็ดน้ำมัน

                                                                            
                                 ใส่ภาชนะที่สะอาดแล้ววางไว้ให้เย็น
                5. แบ่งกล้วยที่ทอดแล้ว 3 ส่วน เพื่อทำกล้วยฉาบสหวาน รสเค็ม รสเนย

วิธีการทำกล้วยฉาบรสหวาน
       
ส่วนผสม
            1.นำกล้วยที่ฉาบแล้วมา 1 ส่วน

            2.น้ำมันพืชสำหรับทอด 4 ถ้วยตวง
            3.น้ำตาลทราย 4 ถ้วยตวง
            4.น้ำ 4 ถ้วยตวง
            5.ใช้กะทะที่สะอาด ตั้งไฟเบาๆ ใส่น้ำตาล น้ำ ลงในกระทะนั้น ต้มจนน้ำตาลละลาย และเคี่ยวต่ออีกครู่ จนน้ำตาลเหนียวเป็นเส้น เมื่อใช้ช้อนจุ่มลงในน้ำเชื่อม แล้วยกช้อนขึ้น น้ำเชื่อมจะยืดตามมีดเป็นเส้น
           6. ใส่กล้วยที่ทอดไว้ ลงในกระทะน้ำเชื่อมทันทีที่ยกลงจากเตา เคล้าเบา ๆ ให้น้ำเชื่อมจับชิ้นกล้วยให้ทั่วถึง
           7. พักไว้จนเย็นสนิทและน้ำเชื่อมแห้งสนิทด้วย จึงเก็บใส่ขวดโหล หรือภาชนะฝาปิดสนิท เพื่อป้องกันลมเข้ารับประทานกันในครอบครัว หรือจะทำเพื่อเป็นอาชีพเสริม ก็จะแพ็คใส่ถุง
       

กล้วยฉาบรสหวาน
   


วิธีการทำกล้วยฉาบรสเค็ม

 เครื่องปรุง/ส่วนผสม

1. กล้วยที่ฉาบแล้ว 1 ส่วน

2. น้ำเกลือ ๑ ช้อนโต๊ะ

ขั้นตอน/วิธีทำ

1. นำกระทะตั้งไฟร้อนกลาง ๆ ใส่น้ำ และเกลือ ลงในกระทะนั้น ต้มจนเกลือละลาย และเคี่ยวต่ออีกครู่

2. นำกล้วยฉาบที่ฉาบแล้วใส่ลงไปในกะทะแล้วยกกะทะลงจากเตาคลุกเคล้าให้เข้ากัน

                        3. นำมาพักไว้ในภาชนะจนเย็นสนิท  จึงเก็บใส่ขวดโหล หรือภาชนะฝาปิดสนิท เพื่อป้องกันลมเข้ารับประทานกันในครอบครัว หรือจะทำเพื่อเป็นอาชีพเสริม ก็จะแพ็คใส่ถุง



กล้วยฉาบรสเค็ม
                          



กล้วยฉาบรสเนย

เครื่องปรุง/ส่วนผสม

1. กล้วยที่ฉาบแล้ว

2. เนย ๑ ทัพพี      

ขั้นตอน/วิธีทำ

1. นำกระทะตั้งไฟร้อนกลาง ๆ ใส่เนย ๑ ทัพพีลงในกระทะ จนเนยละลาย

2. นำกล้วยฉาบที่ฉาบแล้วใส่ลงไปในกะทะแล้วยกกะทะลงจากเตาคลุกเคล้าให้เข้ากัน

                           3. นำมาพักไว้ในภาชนะจนเย็นสนิท  จึงเก็บใส่ขวดโหล หรือภาชนะฝาปิดสนิท เพื่อป้องกันลมเข้ารับประทานกันในครอบครัว หรือจะทำเพื่อเป็นอาชีพเสริม ก็จะแพ็คใส่ถุงหรือกล่อง

กล้วยฉาบรสเนย





ฟักทองกวน

        ฟักทองมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ ละภูมิภาค ท้องถิ่นในภาคเหนือเรียกมะฟัก ข้าว แถบจังหวัดเลย เรียก มะน้ำแก้ว ภาคใต้เรียก น้ำเต้า ปราจีนบุรี เรียก หมากอื้อ และในกลุ่มชาวไทยอำเภอ วาริชภูมิ เรียกมะอุ ฟักทองมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า CUCURBITA MAXIMA DUCHESNE และมีชื่อสามัญว่า PUMPKIN 
วิธีการปลูก
ฟักทองเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญในดินที่ร่วนขุย ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นเป็นเถา เลื้อยไปตามพื้นดินและต้องการหลักยึด ตามลำ เถาจะมีมือเอาไว้เกาะ เถามีขนาดยาว ใหญ่และมีขนสาก  ปกคลุมอยู่ มีสี เขียว 
ใบฟักทองเป็นในเดี่ยวตามลำเถา ใบของ ฟักทองเป็นแผ่นใหญ่มีสีเขียว แยกออกเป็น 3 หยัก และมีขนหยาบ  ปกคลุมอยู่มี สีเขียว 
ฟักทองออกดอกเดี่ยวตามง่ามใบ และที่ลำ ต้นของเถา ลักษณะของดอกเป็นรูปกระดิ่งสีเหลือง ดอกตัวเมียเมื่อบานเต็มที่แล้วจะเก็บผล เล็ก  ติดอยู่ที่ใต้ดอก 
ผลมีขนาดใหญ่ ลักษณะมีทั้งทรงกลมแบนและ ทรงสูงเปลือกของผลจะแข็งมีทั้งสีเขียว กับสีน้ำตาลแดง ทั้งนี้แล้วแต่ชนิดของ ฟักทองนั้นเนื้อในผลสีเหลืองรับประทานเข้า ไปแล้วจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกาย ไม่ ว่าจะเป็นอาหารคาวหรืออาหารหวาน 
ฟักทองมีสรรพคุณในทางยา คือมีสารพวก CAROTENES สารนี้เมื่อเข้าไปในร่างกายแล้วจะ เปลี่ยนเป็นวิตามินเอ บำรุงสายตา เมล็ดฟักทองภายใน เมล็ดมีน้ำมันชนิดหนึ่งใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด โดย ใช้เมล็ดแห้ง 60 กรัม นำมาบดให้เป็นผง แล้วนำมาผสมกับน้ำตาลและนมให้คน ไข้รับประทาน โดยทิ้งระยะห่างประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วดื่มน้ำมันละหุ่งตามเพื่อให้ถ่าย
คุณประโยชน์
ฟักทองมีคุณค่าในการนำมาทำอาหาร รับประทาน ในปัจจุบันจะมีทั้งอาหารคาวและอาหาร หวาน เช่น แกงบวช สังขยาฟักทอง ข้าวเกรียบผัด ฯลฯ ในกลุ่มชาวผู้ไทยนิยมปรุงเป็นขนมชนิดหนึ่ง รับประทานเรียกว่า "โฮงมะอุหรือ ฟัก ทองกวนนั่นเอง 
เครื่องปรุง
1. ฟักทอง 
2. น้ำตาล
3. มะพร้าวขูด
4. เกลือป่น
วิธีทำ 
1. นำฟักทองผลมาผ่าซีกให้เป็นชิ้น ๆ 
2. นำชิ้นฟักทองไปต้มหรือนึ่งให้สุกจนเละ
3. นำฟักทองที่สุกเละไปขูดเอาแต่เนื้อ กวนให้เข้ากัน
4. คั้นน้ำกะทิเทลงไป เติมน้ำตาล เกลือป่นเล็กน้อย กวนให้เข้ากัน
5. ชิมรสชาติและเติมเกลือ น้ำตาล ตามต้องการ เป็นเสร็จ
วิธีการปรุง 
ตัดใส่ภาชนะไว้รับประทานได้ 


 

Sample text

Sample Text

Sample Text